กทม.สุ่มตรวจอาคาร 9 ประเภท พร้อมติดตั้งเครื่องมือวัดความสั่นสะเทือน

จาก กรณีเหตุแผ่นดินไหวนอกชายฝั่งเมียนมาเกิดแรงสั่นสะเทือนรับรู้ถึงอาคารสูงในกรุงเทพฯ นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม.กล่าวติดตั้งเครื่องวัดความสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวที่ชั้น 36 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการ กทม.2 เขตดินแดง เพื่อตรวจวัด บันทึกข้อมูล วิเคราะห์ และแจ้งเตือนกรณีมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น

โดยส่งเจ้าหน้าที่สุ่มสำรวจตรวจสอบอาคารที่อาจได้รับผลกระทบจากแรงแผ่นดินไหว พบว่าคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ไม่มีอาคารใดได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ข้างต้น โดยสรุปแล้วแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับที่ทำให้คนรู้สึกได้ชัดเจนและเกิดความวิตกต่อผู้ใช้อาคาร แต่ยังไม่รุนแรงพอที่จะส่งผลทำให้เกิดความเสียหายของโครงสร้างอาคารได้

แผ่นดินไหวทางใต้ของเมียนมา ตึกสูงในกทม.-นนทบุรีรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน

คนกรุงฯแตกตื่น!แผ่นดินไหว ตึกสูงทั่วกทม.-ปริมณฑลสั่นไหวจนรู้สึกได้

สำหรับเจ้าของอาคาร 9 ประเภทที่ต้องจัดให้มีการตรวจสอบอาคาร เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยผู้ตรวจสอบอาคารที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมโยธาธิการและผังเมืองและยื่นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาออกใบรับรองการตรวจสอบอาคาร ประกอบด้วย

  1. อาคารสูง (อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป
  2. อาคารขนาดใหญ่พิเศษ (อาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตร (ตร.ม.) ขึ้นไป
  3. อาคารชุมนุมคน (อาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตร.ม.ขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป)
  4. โรงมหรสพ โรงแรมที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้น
  5. สถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตร.ม.ขึ้นไป
  6. อาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวมที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตร.ม.ขึ้นไป
  7. โรงงานที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งชั้น และมีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตร.ม.ขึ้นไป
  8. ป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตร.ม.ขึ้นไป
  9. ป้ายที่ติดตั้งบนหลังคา หรือดาดฟ้า หรือส่วนของอาคารที่มีพื้นที่ 25 ตร.ม.ขึ้นไป