“กรมราง” ลุยถก รฟท. หาทางแก้ไขน้ำท่วมราง ทำรถไฟตกราง! ในระยะยาว

เมื่อวันที่ 1 ต.ค. นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ติดตามการกู้ขบวนรถไฟตกราง ที่ จ.แพร่ ร่วมกับ รมช.คมนาคม และผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) โดยขณะนี้ฝ่ายการช่างโยธา รฟท. ได้ซ่อมบำรุงทาง และลงหินปรับฐานคันทางรถไฟ และใช้รถแบคโฮเปิดช่องทางน้ำระบายน้ำ เพื่อให้รถช่วยเหตุอันตรายเข้ามายังที่เกิดเหตุได้อย่างปลอดภัย และมีฐานที่มั่นคงสำหรับรถปั้นจั่นที่ยกรถตกราง เนื่องจากสภาพทางบริเวณดังกล่าวไม่มีหินโรยทางรองราง เนื่องจากถูกน้ำพัดไปยาวประมาณ 20 เมตร ต้องปรับฐานเพื่อตั้งขาของรถโบกี้ปั่นจั่นให้มั่นคง จึงทำให้งานล่าช้าจากเป้าหมายที่วางไว้

สำหรับแผนการดำเนินงานในวันนี้(1 ต.ค.) ในช่วงเช้าเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการยกรถนั่งและนอนชั้นสองปรับอากาศ (บนท.ป. 1138) ที่ตกรางทุกเพลาทุกล้อเบี่ยงออกเสร็จแล้ว จากนั้นได้ยกรถโบกี้สัมภาระ (บพหคำพูดจาก ทดลองสล็อต pg. 1026) โดยยกเบี่ยงออกให้พ้นเขตโครงสร้างทางรถไฟก่อน เพื่อให้ฝ่ายการช่างโยธา รฟท. ดำเนินซ่อมบำรุงทาง และตรวจร่วม4 ฝ่าย เพื่อประเมินความมั่นคงแข็งแรงก่อนเปิดทางรถไฟ  ก่อนจะให้รถโบกี้ปั้นจั่น 42 จากอุตรดิตถ์เดินไปอยู่ทางบ้านปิน และให้รถโบกี้ปั้นจั่น 43 ที่มาจากบางซื่อ อยู่ฝั่งด้านสถานีแก่งหลวง โดยใช้รถโบกี้ปั้นจั่นทั้ง 2 คันยกรถจักรที่ตกรางให้แล้วเสร็จ  ส่วนฝ่ายการช่างโยธาได้ดำเนินการซ่อมบำรุงทางฉุกเฉิน เพื่อให้สามารถเปิดการเดินรถไฟสายเหนือได้อย่างปลอดภัยโดยเร็ว คำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต

นายพิเชฐ กล่าวต่อว่าสำหรับการแก้ไขปัญหาในระยะยาว  ขร. จะจัดประชุมหารือกับ รฟท. เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยจะมีการพิจารณาทิศทางการไหลของน้ำ ลักษณะภูมิประเทศและสภาพทางกายภาพของทางรถไฟ ช่องท่อลอด/ทางระบายน้ำที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณดังกล่าว  เพื่อหาแนวทางป้องกันน้ำเซาะทางรถไฟโดยออกแบบเป็นสะพานคอนกรีต (Short Span Bridge) ต่อไป 

นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ขอให้ รฟท. พิจารณาสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัย เช่น น้ำท่วม ดินถล่ม  สำรวจช่องลอด/ท่อระบายน้ำ และกำจัดวัสดุที่อุดปิดหรือกีดขวางทางน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการไหลของน้ำ รวมทั้งพิจารณาติดตั้งระบบตรวจวัดปริมาณน้ำฝน จัดทำแอปพลิเคชั่น หรือระบบแจ้งเตือนภัยเมื่อเกิดความเสี่ยงภัยของระบบรางโดยเฉพาะหากเกิดภัยธรรมชาติ หรือน้ำท่วมที่ส่งผลกระทบต่อการเดินรถ โดยอาจนำร่องในพื้นที่ภูเขา และพื้นที่เสี่ยงก่อน จากแผนที่เสี่ยงภัย (hazard map) เพื่อแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ฝ่ายการช่างโยธา ในการออกสำรวจพื้นที่จุดเสี่ยง 

พร้อมทั้งแจ้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ เพื่อประสานแจ้งเตือนพนักงานขับรถไฟให้ใช้ความระมัดระวังหรือหยุดเดินรถชั่วคราวจนกว่าจะมั่นใจในความมั่นคงปลอดภัยของทางรถไฟ ขณะเดียวกันให้พิจารณาการปรับปรุงระบบสื่อสารและโทรคมนาคมในพื้นที่ที่อับสัญญาณโทรศัพท์มือถือ หรือวิทยุสื่อสาร เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างต่อเนื่อง และติดต่อประสานงานได้อย่างทันท่วงทีกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน.